คำศัพท์วงการนักเทรด  Forex

สอน เทรด forex

คำศัพท์วงการนักเทรด  Forex

 

มือใหม่หัดเทรด forex  เริ่มที่หาความรู้

แน่นอนว่าเวลาที่เราทำอะไรใหม่ๆ การหาความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะการเริ่มต้นทำกำไรในตลาด Forex ที่มีความผันผวนสูงโดยที่ยังมีความรู้ไม่มากเพียงพอ แทนที่จะทำกำไรได้กลับกลายเป็นว่าจะขาดทุนเอาเสียเอง ดังนั้นการหาความรู้จึงเป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่สำคัญมาก ซึ่งสิ่งที่เทรดเดอร์ มือใหม่ต้องศึกษาเมื่อเริ่มเทรด Forex ก็คือการเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับ Forex สอน เทรด forex

       สำหรับนักเทรด Forex นอกเหนือจากต้องเรียนรู้เทคนิคและหลักการในการเทรด อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่ควรค่าแก่การเรียนรู้และทำความเข้าใจ ก็คือ ‘คำศัพท์ Forex’ ต่าง ๆ ที่จะวนเวียนกันเข้ามาให้นักเทรดต้องทำความเข้าใจและใช้งานอยู่ตลอด ยิ่งนักเทรดสามารถเข้าใจบรรดาคำเหล่านี้อย่างท่องแท้ ก็จะยิ่งสามารถฝึกฝนทักษะการเทรดของตนเองให้เกิดผล วันนี้ ZFX จึงได้รวบรวมทุกคำศัพท์พื้นฐานในการเทรด Forex ที่นักเทรดควรรู้มาฝากกัน มาเริ่มกันเลย

 

คำศัพท์พื้นฐานในการเทรด Forex ที่นักเทรดควรรู้

Symbol, Base Currency และ Quote Currency

สัญลักษณ์ (Symbol) หมายถึง สัญลักษณ์คู่สกุลเงินในตลาด Forex ซึ่งจะแสดงเป็นคู่และติดกันเสมอ เช่น EURUSD คือ ค่าเงินยูโร (EUR) เทียบกับ ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ (USD) โดยสกุลเงินที่แสดงอยู่ด้านจะเรียกว่า Base Currency (ค่าเงินพื้นฐาน) และสกุลเงินที่อยู่ด้านหลังจะเรียกว่า Quote Currency (ค่าเงินอ้างอิง) และหมายความว่า (ในกรณี สมมมติว่า EUR/USD ณ ช่วงเวลาหนึ่งมีอัตรา  1.105965) 1 Euro มีค่าเท่ากับ 1.105965 US Dollars

Indicator

‘Indicators’ หรือ ‘ตัวชี้วัดทางเทคนิค’ สำหรับการเทรด Forex, หุ้น ฯลฯ คือ เครื่องมือทางคณิตศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์ตัวแปรสำคัญต่าง ๆ ในการเทรด เช่น ราคาเปิด, ราคาสูงสุด, ราคาต่ำสุด, ราคาปิด, ปริมาณการซื้อขาย ถูกใช้โดยนักเทรดทั่วโลกในหลากหลายสาย โดยเฉพาะสายที่ต้องการฝึกหรือถนัดวางกลยุทธ์การเทรดผ่านการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) ช่วยให้นักเทรดสามารถเข้าใจทิศทางการเคลื่อนไหวของราคา, วิเคราะห์แนวโน้ม, ความผันผวน ตลอดจนคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้  Indicators ยอดนิยม เช่น Moving Average (เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่) ช่วยให้นักเทรดสามารถมองเห็นการเคลื่อนที่ของราคาอย่างง่ายดายมากขึ้น, Average True Range (ค่าพิสัยที่แท้จริงโดยเฉลี่ย) ช่วยให้นักเทรดประเมินระดับความผันผวนและวางแนวทางการเทรดของตนเองอย่างเหมาะสม เช่น การกำหนดจุด Stop Loss

Leverage และ Margin

คล้ายคลึงกับการเทรด CFD  โบรกเกอร์ผู้ให้บริการเทรด Forex ส่วนใหญ่มอบ ‘เลเวอรเรจ’ (leverage) เป็นเงินทุนยืมให้กับเทรดเดอร์ก่อน ช่วยให้ในการเทรด Forex แต่ละครั้ง เทรดเดอร์ไม่ต้องลงทุนเต็มราคาล็อต (lot) แต่ลงทุน (ฝากเงินเข้ามา) เฉพาะแค่ในอัตราเงินประกัน (margin) ซึ่งจะมีอัตราอยู่ที่เท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับอัตราเลเวอเรจที่เทรดเดอร์เลือก (อยู่ที่ว่าจะยืมโบรกเกอร์เท่าไหร่)

ด้วยเหตุนี้ค่าเลเวเรจจึงสัมพันธ์กับค่ามาร์จิ้นเสมอ ยิ่งเทรดเดอร์เลือกค่าเลเวอเรจสูง ก็ยิ่งช่วยให้อัตราเงินประกันที่ต้องวางต่ำลง แต่ก็แลกมาด้วยภาระรับผิดชอบที่สูงขึ้นเช่นกัน กรณีเกิดการสูญเสียหรือขาดทุน

Lot

กล่าวให้เห็นภาพและง่ายที่สุด ล็อต (lot) ก็คือปริมาณ/ขนาดหน่วยของเงินสกุลหลัก มี 3 ชนิด ได้แก่

  • Standard – 1 ล็อตมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 100,000 หน่วยของสกุลเงิน (เช่น $100,000)
  • Mini – 1 ล็อตมินิมีค่าเท่ากับ 10,000 หน่วยของสกุลเงิน (เช่น $10,000)

ในการเทรด เทรดเดอร์จะถูกควบคุมให้เทรดอยู่ภายใต้ 1 ใน 2 ชนิดล็อต (ปริมาณการลงทุน) นี้เสมอผ่านการเลือกตั้งแต่เริ่มแรกเลยว่าอยากจะเปิดบัญชีแบบ Standard หรือแบบ Mini เช่น สมมติว่า คุณ A เลือกเปิดบัญชี Standard STP กับ ZFX ทุกครั้งที่คุณA เทรด คุณ A จะต้องมีจำนวนเงินของเงินสกุลหลัก 100,000 หน่วยในบัญชีเสมอ (เช่น $100,000) จึงจะสามารถเปิดสัญญาในแต่ละครั้ง ซึ่งหากคุณเป็นผู้เล่นรายใหญ่ ก็อาจมองว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่สูง แต่ถ้าสำหรับผู้เล่นรายย่อย มีเงินทุนน้อย แน่นอนว่าก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถลงทุนที่ขนาดล็อตดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง

Pip และ Point

Pip และ Point คือ หน่วยมาตรฐานในการใช้วัดปริมาณการเคลื่อนไหวของราคาในตลาด Forex โดย Pip จะใช้เรียกทศนิยมตำแหน่งตำแหน่งที่ 4 ส่วน Point จะใชเรียกทศนิยมตำแหน่งที่ 5 และ 1 Pip จะเท่ากับ 10 Point เสมอ เช่น

  • สมมติว่า ราคาของ EUR/USD อยู่ที่ 1.23450 เคลื่อนที่ไปเป็น 1.23460 จะเท่ากับว่า ราคาขึ้นมา 1 Pip หรือ 10 Point
  • สมมติว่า ราคาของ GBP/USD อยู่ที่ 2.34560 เคลื่อนที่ไปเป็น 1.234540 จะเท่ากับว่า ราคาลดลงมา 2 Pip หรือ 20 Point

ส่วนในกรณีบาคู่สกุลเงินที่ไม่ได้มีทศนิยมถึง 5 ตำแหน่ง เช่น USD/JPY ที่มักมีทศนิยมเพียงแค่ 3 ตำแหน่งเท่านั้น เราก็จะนับจุดทศนิยมที่ 2 ว่า Pip และ ทศนิยมตัวที่ 3 ว่า Point เสมอ